• เมืองสุขภาพบำบัด
  • ศรีลังกามีประเพณีและวัฒนธรรมในเรื่องของการดูแลสุขภาพที่เรียกว่าอายุรเวท ที่เก่าแก่และมีคุณค่าไม่แพ้ในอินเดีย จึงไม่น่าแปลกที่มีรีสอร์ทที่ทั้งที่พักผ่อนและรักษาสุขภาพพร้อมกันด้วยและ เป็นที่นิยมอย่างมากของนักท่องเที่ยวตะวันตก เป็นอีกเสน่ห์หนึ่งที่น่าสำรวจ รีสอร์ทเหล่านี้มีขนาดเล็กคล้ายโฮมสเตย์ในบ้านเราแต่จะจัดการดูแลเรื่อง สุขภาพของผู้ที่มาพักไม่ว่าจะเป็นอาหาร การนวดและกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร ซึ่งเป็นอีกเสน่ห์หนึ่งที่ศรีลังกามี
  • ศรีลังกา (SRI LANKA)
  • หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (Democratic Socialist Republic of Sri Lanka) เป็นเกาะเล็กๆในมหาสมุทรอินเดียใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย และเป็นเกาะที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ “เกาะลังกา” มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่าย “เถรวาท” ที่มั่นคงและมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ธรรมะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างยิ่งประเทศหนึ่ง พอรู้ว่าแอร์เอเชียเปิดเที่ยวบินไปกลับกรุงเทพฯ-โคลอมโบก็รีบจองตั้งแต่ต้นปี 2555 แต่จองทริปไปตอนเกือบปลายปีคือเดินทางไปวันที่ 10 ตลาคม 2555 และกลับวันที่ 17 ตุลาคม 2555 แต่ก่อนเดินทาง 2 อาทิตย์ผมก็ได้รับข้อความจากแอร์เอเชียเข้ามาทางมือถือว่าเที่ยวบินขากลับวันที่ 17 ตุลาคมจากโคลอมโบกลับกรุงเทพฯถูกยกเลิก เพราะเป็นเรื่องของต้นทุนผู้โดยสารไม่เยอะ เขายกเลิกเที่ยวบินแล้ว วันที่ 10 ตุลาคม 2555 จะเป็นวันสุดท้ายที่แอร์เอเชียบินไปกลับกรุงเทพฯ-โคลอมโบครับ ดังนั้นขากลับ วันที่ 17 ตุลาคม 2555 แอร์เอเชียทำการ Reroute ตั๋วให้ผมขากลับจากโคลอมโบเข้ากัวลาลัมเปอร์ก่อน และ จากกัวลาลัมเปอร์เข้ากรุงเทพฯครับ ทริปนี้ตอนแรกจองไว้ 6 คนแต่สุดท้ายเหลือแค่ 4 คนเนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจครับ รวมทั้งหลวงไข่ด้วย แต่พอมีอยู่บ้างก็เลยได้ไปครับ
  • เมืองแห่งสยามวงศ์
  • สำหรับชาวพุทธไทยยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าภูมิใจนั่นก็คือความสัมพันธ์ทาง พุทธศาสนาระหว่างสยามกับศรีลังกาในอดีตนั้นลึกซึ้งมาก นั่นคือการพึ่งพากันและกันของทั้งสองประเทศในด้านพุทธศาสนาและเป็นต้นกำเนิด ของพระสงฆ์สายสยามวงศ์ในศรีลังกา การได้ไปศรีลังกาจึงเสมือนไปย้อนรอยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยา กับแคนดี้ซึ่งยังคงเด่นชัดมาจนถึงทุกวันนี้
  • เมืองแห่งธรรมชาติ
  • อีกด้านหนึ่งที่ศรีลังกามีจุดแข็งนั่นก็คือด้านธรรมชาติ ความสวยงามของธรรมชาติที่ยังบริสุทธิ์ ด้วยความที่เป็นประเทศเกาะและมีประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเจริญเติบโตที่นั่น จึงเป็นเสน่ห์ที่พิเศษกว่าเกาะอื่นโดยทั่วไป ศรีลังกาเป็นเกาะขนาดเล็ก เดินทางจากฝั่งเกาะด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งจะใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมง ไปที่ไหนก็จะเห็นแต่ความเขียวชอุ่มของต้นไม้ใบหญ้า ภูเขาและวัด นักท่องเที่ยวไทยหลายคนกล่าวว่าเมื่อมาศรีลังกาแล้วผิดคาดและไม่นึกว่าจะมี ธรรมชาติที่สวยงามแบบนี้ บางท่านบอกว่าเสน่ห์ของศรีลังกาอยู่ที่ธรรมชาติแบบดิบ ซึ่งหาที่ไหนไม่ค่อยได้  นอกจากนั้นหากชอบช้าง ศรีลังกามีป่าสงวนที่มีช้างป่ามากมายอีกทั้งช้างยังเป็นสัตว์ที่นำไปใช้ใน พิธีทางศาสนาคือการแห่งพระบรมสารีริกธาตุที่เรียกว่าพิธีเปราเฮรา จะใช้ช้างนับร้อยร่วมขบวนแห่ ซึ่งหาดูที่ไหนไม่ได้
  • รายได้หลักศรีลังกา
  • มาจากการเกษตรคือ ชาซีลอน ข้าว ยางพารา มะพร้าว ไข่มุก เครื่องเทศ เช่น อบเชย เงินรูปีศรีลังกา (Sri Lankan Rupee) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ สหรัฐเท่ากับ ประมาณ 108 รูปีศรีลังกา หรือ 1 บาท ประมาณ 3.2 รูปีศรีลังกา
  • History
  • ประวัติศาสตร์
  • ประวัติศาสตร์ศรีลังกา เริ่มต้นเมื่อ 30,000 ปีที่แล้ว พงศาวดารกล่าวไว้ว่ากษัตริย์สิงหลนั้นมีในศตวรรษที่6 และบางคนกล่าวว่ามีเรื่องรามายนะ มหาภารตะ พระพุทธศาสนานั้นเข้ามาในศตวรรษที่3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จนศตวรรษที่16 ดินแดนชายทะเลบางส่วนตกเป็นของโปรตุเกส อังกฤษ และดัชช์ ในเวลาต่อมาจึงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จนกระทั่งปีค.ศ. 1948 ศรีลังกาได้รับเอกราชแต่ยังอยู่ในการปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ จนกระทั่งปีค.ศ. 1972กลายเป็นสาธารณรัฐจนกระทั่งหกปีต่อมาได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ทำให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ต่อมาก็เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬ นานถึง25ปี โดยยุติลงด้วยชัยชนะของรัฐบาลศรีลังกา ภายใต้การนำของมหินทะ ราชปักษา ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของศรีลังกายุคก่อนประวัติศาสตร์ของศรีลังกา หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของศรีลังกานั้นมีอายุประมาณ 34,000 ปีมาแล้ว โดยระบุว่าอาศัยอยู่ในถ้ำที่ชื่อ Fa-Hien rock มีสิ่งประดิษฐ์มากมายจึงทำให้คนรู้ว่าเกาะนี้เคยมีคนอาศัยอยู่ ต่อมาได้ค้นพบข้าวโอ๊ตและข้าวบาเลย์ในที่ราบ นอกจากนี้นั้นยังค้นพบเครื่องเคลือบดินเผาเศษไม้ย่าง ศรีลังกาเป็นถิ่นกำเนิดของอบเชยเพราะมีการค้นพบในอียิปต์โบราณและคัมภีร์ไบเบิลเคยกล่าวไว้ด้วย ในยุคเหล็กค้นพบในเมืองอนุธาธปุระ โดยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของเมืองขนาดใหญ่ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศรีลังกาพัฒนาอารยธรรมไฮโดรลิคได้ดีทั้งสร้างอ่างเก็บน้ำใหญ่และเขื่อนขนาดใหญ่ระดับโลกเช่นเดียวกับพีระมิด และเจดีย์ในศรีลังกาเยอะเป็นจำนวนมาก ยุคโบราณของศรีลังกา ในสมัยนั้นเคยมีบันทึกของพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่ง ว่าพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นทรงขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อ218ปีที่แล้ว หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานลงและเขายังได้เก็บดังที่ตำนานของชาวสิงหลว่าเกิดจาการคาดคะเนกันระหว่างตำนานสิงโตกับเจ้าหญิงมนุษย์ ศรีลังกานั้นยังเคยปรากฏชื่อแผนที่ในยุคโบราณของปโตเลมี โดยในสมัยนั้นมีชาวกรีกและชาวจีนเข้าร่วมค้าขายกับลังกา โดยใช้ท่าเรือ Mahathitha เป็นท่าเรือที่เชื่อมโยงไปยังอินเดียและเปอร์เซีย อาณาจักรอนุธาธปุระ ในยุคแรกอาณาจักรนั้นเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเป็นหลัก ถิ่นฐานช่วงแรกอยู่ทางแม่น้ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือต่อมาลูกชายของพระเจ้าอโศกมหาราชได้นำต้นโพธิ์ผ่านเมืองJambukola ทำให้สมัยนี้ใความเตริญทางด้านพระพุทธศาสนาต่อมาทมิฬเข้าโจมตีทางภาคใต้ของศรีลังกา ทมิฬเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรุกครั้งนี้ เมื่อโรมัน เข้ามาค้าขายทมิฬกับศรีลังกาแต่เศรษฐกิจปกครองไม่นานเพราะจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง จนมีสมัยหนึ่งที่เถรวาทเสื่อมลงและกลับมาเจริญเติบโตอีกครั้ง ยุคศรีลังกา ราชอาณาจักรRohana นั้นได้สร้างขึ้นมาและชนะทมิฬ กษัตริย์มีดังนี้ - พระเจ้ามาฮานากา - พระเจ้ายาทาลาทิสสา - พระเจ้าโกทาบายา - พระเจ้าคาวานดิสซา
  • Geography
  • ภูมิประเทศ
  • ศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; ทมิฬ: இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลงกา[ต้องการอ้างอิง] ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีภูเขาสูง มีที่ราบเป็นบริเวณแคบ มีพรมแดนทางทะเลทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศอินเดีย ชาวสิงหลและชาวทมิฬเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในศรีลังกาประมาณ 500 ปี และ 300 ปีก่อนคริสตกาลตามลำดับ โดยต่างก็อพยพมาจากอินเดีย อาณาจักรสิงหลได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณที่ราบทางภาคเหนือของศรีลังกา โดยมีเมืองอนุราธปุระเป็นเมืองหลวงแห่งแรกยาวนานถึงประมาณ 1,200 ปี ต่อมาในศตวรรษที่ 13 จึงได้เสื่อมลง พร้อมกับการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ โดยมีเมือง'โปลอนนารุวะเป็นเมืองหลวงยาวนานประมาณ 200 ปี ชาวทมิฬจึงได้อพยพไปตั้งอาณาจักรจัฟฟ์นาทางคาบสมุทรจัฟฟ์นา ตอนเหนือของประเทศส่วนชาวสิงหลได้ถอยร่นลงไปตั้งรกรากอยู่ทางใต้ ก่อตั้งเป็นอาณาจักรแคนดี ซึ่งมี เมืองแคนดีเป็นเมืองหลวง นอกจากนี้ก็มีอาณาจักรโกฎเฏและอาณาจักรรุหุนะ โดยอาณาจักรแคนดีเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากที่สุดประมาณศตวรรษที่ 15
  • Economy
  • เศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจของประเทศศรีลังกาได้บันทึกอัตราการเติบโตโดยรวมร้อยละ 6 ของอัตราการขยายตัวที่แท้จริง (Real term) ในปี 2551 แม้ว่า ในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2551 นั้น เศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 6 ความสับสนทางการเงินของโลกได้กระทบต่ออัตราการเติบโตของไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ซึ่งทำให้มีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 6 ในปี 2551 แนวโน้มนี้แสดงให้เห็นว่า ปี 2551 เป็นปีที่สีแล้วที่มีอัตราเติบโตร้อยละ 6 หรือมากกว่า นี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่แสดงถึงสถานการณ์ในระบบเศรษฐกิจโลกนโยบายการเงินแบบหดตัว (Tight Monetary Policy) และราคาสินค้าที่ถีบตัวสูง คาดการณ์กันว่า แม้ว่าจะเป็นช่วงขาลงของเศรษฐกิจโลก แรงกระตุ้นในการเติบโตจะยังคงมีอยู่และยังขยายตัวเนื่องจากผลของการยุติของสงครามสามทศวรรษ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่จดทะเบียนในช่วงปี 2551 แสดงให้เห็นว่า สามภาคส่วนได้ให้การสนับสนุนอย่างมากต่อเศรษฐกิจ ซึ่งนำโดยภาคเกษตรกรรมที่สร้างสถิติอัตราที่น่าพอใจร้อยละ 7.5 แต่ภาคอุตสาหกรรมและบริการเติบโตที่อัตราร้อยละ 5.9 และ 5.6 ตามลำดับ ภาคเกษตรกรรม (Agriculture Sector) ในปี 2551 ภาคเกษตรกรรมได้แสดงส่วนการเติบโตที่สูงที่สุด และได้ถูกขับเคลื่อนโดยการพัฒนาในการผลิตข้าวเปลือกและปลาในประเทศ ตลอดจนการเพิ่มการส่งออกมะพร้าว ยางและชา ผลิตภัณฑ์สำคัญสำหรับส่งออกในภาคส่วนนี้ ประกอบไปด้วย ชา ยาง มะพร้าว เครื่องเทศ ผลไม้และผัก แต่ในส่วนของตลาดภายในประเทศนั้น ผลิตภัณฑ์หลักคือข้าว น้ำตาล และพืชผลอื่นๆ
  • Politics
  • การเมือง
  • นิติบัญญัติ รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรี พรรคการเมือง ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ - พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP) - พรรค United National Party (UNP) - พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) - พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC) - พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP) - พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation - พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC) การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี  
  • Culture
  • วัฒนธรรม
  • วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาเข้าสู่ศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 3 สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยาติสสะ (DEVANAMPIYATISSA) ร่วมสมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราช โดยพระเจ้าอโศกได้จัดสมณะทูตในพระพุทธศาสนา เข้าสู่ลังกาเป็นครั้งแรก ทำให้พระพุทธศาสนาได้เป็นศาสนาประจำราชอาณาจักรศรีลังกา เป็นรากฐานและวัฒนธรรมของชาวศรีลังกา เนื่องจากอิทธิพลทางศาสนา การนำดอกไม้และการแต่งกายไปวัดของคนศรีลังกา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เห็นกันบ่อย ๆ ชาวพุทธศรีลังกานิยมไหว้พระ และถวายพระด้วยดอกไม้ ดอกไม้ที่คนศรีลังกานิยมใช้ถวายพระคือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ไม่นิยมดอกไม้พลาสติก และดอกไม้นั้นส่วนใหญ่จะต้องเก็บจากต้นเท่านั้น ชาวศรีลังกายังชอบใช้ดอกไม้เป็นดอก ๆ ไม่นิยมร้อยมาลัยเหมือนเมืองไทยและอินเดีย ส่วนใหญ่จะใช้ดอกบัวสีชมพูมากที่สุด บางครั้งอาจเป็นดอกลั่นทม ดอกพุด ดอกมะลิ นอกจากนี้ศาสนายังมีส่วนช่วยระบบวรรณะได้ลดความเข้มข้นลงด้วยอิทธิพลคำสอนทางพุทธศาสนานอกจากนั้นยังมีอิทธิพลด้านอื่น ๆ อีก เช่น ชื่อของบุคคลต่าง ๆ ได้มีการนำเอาชื่อทางพุทธศาสนามาตั้งเป็นชื่อของบุคคล นับตั้งแต่กษัตริย์ ราชวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เช่น พระเจ้าพุทธทาสะ พระเจ้าสังฆติสสะ พระเจ้าโมคคัลลานะ พระเจ้ากัสปะ พระเจ้ามหินทะ เป็นต้น จะปรากฏเห็นว่ามีชื่อของบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา ปรากฏเป็นพระนามของกษัตริย์ลังกาหลายพระองค์ มีการกำหนดเอาวันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ งานทุกชนิดต้องหยุดในวันพระ เมื่อถึงวันพระชาวสิงหลจะถืออุโบสถศีล และประกอบศาสนกิจต่าง ๆ พระเจ้าแผ่นดินได้ออกกฎหมาย "มาฆาตะ" คือห้ามฆ่าสัตว์และเบียดเบียนชีวิตสัตว์ จนอาชีพนายพรานได้หายไปนอกจากนั้นรัฐบาลศรีลังกาได้ถือเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จะเห็นได้ว่าศาสนาพุทธมีความสำคัญและส่งผลต่อวัฒนธรรม การดำเนินวิถีชีวิตของชาวศรีลังกาเป็นอย่างมาก  ศรีลังกา วัฒนธรรมพุทธแห่งเอเชียใต้ ห่างหายไม่ได้อัพเดทนานพอสมควร เนื่องด้วยฤดูแห่งการเดินทางได้สิ้นสุดลงแล้ว และผมเองก็ต้องเก็บข้าวเก็บของ เตรียมเนื้อเตรียมตัว และเตรียมใจ เดินทางไกลเพื่อไปทำงานในกาฬทวีปอันน่าทึ่ง อย่างที่ผมเคยบอกไว้ในกระทู้เปิดตัวว่า ได้รับมอบหมายให้ไปทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองในประเทศไกลแสนไกล (สำหรับผม) แห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา และตอนนี้ก็ได้เวลาอันสมควรแล้ว คงจะได้ฤกษ์ออกเดินทางเสียที เฉลยให้ทราบกันในกระทู้นี้ล่ะครับ ประเทศที่จะไปอยู่ประจำนั้น ลองทายกันดู เขาว่า เป็นสวิตซ์ของแอฟริกา เศรษฐกิจดี อากาศดีมาก เย็นสบายไร้เหงื่อมัน แต่ก็คงทำให้เหงาได้ในหลายโอกาส มีซาฟารีดีที่สุดในโลก มีชนเผ่ามาไซอันเลื่องชื่อ มีถั่วมาคาเดเมียเม็ดใหญ่เท่าหัวแม่มือฝรั่ง มีร้านอาหารป่าชื่อดัง มีสายการบินที่มีโลโกว่า Pride of Africa... พอจะนึกออกกันมั้ยครับว่า มันคือที่ใดในโลก หลายคนคงทายถูกว่า มันคือประเทศเคนยา (ไม่มีไม้เอกถูกต้องตามราชบัณฑิตท่านว่าครับ แม้หลายคนนิยมเขียนเคนย่าก็ตาม) ทายถูกแล้วรู้หรือเปล่าว่าเมืองหลวงของเขาชื่ออะไร ไว้ผมจะเฉลยให้ทราบในครั้งต่อไปนะครับ  เพ้อเจ้อไปพักใหญ่ ขอเข้าเรื่องเมืองพุทธแห่งเอเชียใต้อย่างศรีลังกาเลยดีกว่า สังคมเมืองพุทธศรีลังกา สำหรับผม ไม่แตกต่างจากประเทศพุทธอื่นๆ เท่าใดนัก มีวัดวาอารามให้เห็นกันทั่วทุกมุมเมือง ประชาชนเคารพนับถือพระสงฆ์ในฐานะตัวแทนพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก วิถีชีวิตชาวบ้านใกล้ชิดพระเจ้าอย่างแยกไม่ออก แต่ที่ผมเห็นต่างไป คือ เหตุการณ์ความไม่สงบและการรบพุ่งกันระหว่างชาวทมิฬกับชาวสิงหล ทำให้ประเทศนี้อยู่ภายใต้ภาวะความตึงเครียดและอันตรายมานานมากแล้ว แต่แม้กระนั้น ชาวบ้านก็ยังนิยมนุ่งขาวห่มขาวเข้าวัด วัดกลายเป็นที่พึ่งทางจิตใจที่สำคัญมากอย่างหนึ่งเลยทีเดียว  สภาพตึกรามบ้านช่องคล้ายประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียหลายประเทศที่ผมเคยไปมา ความเจริญกระจุกตัวอยู่เพียงจุดใดจุดหนึ่งและจะเป็นที่ที่ร้านรวง โรงแรมต่างๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินซื้อข้าวซื้อของได้อย่างสบายใจ ส่วนอื่นๆ ก็เป็นพวกบ้านเรือนชาวบ้านชาวเมืองดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยบ้าง ห้างร้านบ้าง อย่างที่เห็น แน่นอนว่า มาศรีลังกาควรเดินทางไปบูชาพระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี้ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโคลัมโบ (Colombo) เมืองหลวงไปประมาณสามชั่วโมงทางรถยนต์ แม้ผมไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวชมเมืองแคนดี้ในการมาทำงานครั้งนี้ แต่ก็ได้แวะสักการะพระเจดีย์สำคัญต่างๆ อยู่หลายแห่ง ช้างตัวนี้เป็นรูปปั้นช้างซึ่งถ่ายมาแล้วดูเหมือนจริงมาก อยู่ในวัดกัลยาณีซึ่งเป็นวัดที่ผู้มาเยือนนิยมไปสักการะ ภายในวัดมีทั้งพิพิธภัณฑ์และพระพุทธรูปมากมาย
  • Population
  • ประชากร
  • จำนวน ประชากรทั้งหมด 19,742,439 คน (2546) อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 0.83 (2546) ประชาการเป็นชาว สิงหล ร้อยละ 74 ทมิฬ ร้อยละ 8 แขกมัวร์ (อินเดียและตะวันออกกลาง) ร้อยละ 7 และ ผลิตกาแฟ คือ พวกเชื้อชาติเบอร์เกอร์, เวดด้า, มาเลย์, จีน และกัฟฟีร์ (แอฟริกัน) มีอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 92.3 (ปี2547) เพศชาย ร้อยละ 94.8 และเพศหญิง ร้อยละ 90
  • ท่องเที่ยว - การเดินทางไปประเทศศรีลังกา
  • ใครสนใจจะไป Fam Trip ศรีลังกา วันที่ 5-9 มิ.ย. นี้ บ้าง เป็นคำถามที่ถามพี่ๆน้องๆในออฟฟิศโอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ คนโน้นตอบไม่ว่าง คนนี้ไปมาแล้ว เมื่อไม่มีใครสนใจ ผมจึงรีรอช้าอยู่ไย เพราะอยากไปศรีลังกามานานแล้ว งั้นผมไปเอง 555... ครั้งแรกกับการไป เที่ยวศรีลังกา ของผมกับ Fam Trip ที่จัดโดย สายการบิน Srilankan Airline กับ บริษัท Lanka Sportreizen ของศรีลังกา ได้รับการนัดหมายข้อมูลติดต่อจากทางสายการบินโดยพี่ด้า ว่าให้ไปเจอกันที่สนามบินในวันเดินทาง ก่อนเดินทางต้องทำ วีซ่าศรีลังกา ก่อน การทำวีซ่าศรีลังกาสามารถทำออนไลน์ได้เลย ราคา 30 ดอลล่าห์ ง่าย สะดวก ไม่ยากครับ(เพราะบอกให้น้องแจนทำให้ ^^ ) ได้หมายเลขวีซ่าตอบกลับมาทางอีเมลล์แล้วอย่าลืมปริ้นเก็บไว้เพื่อเอาไปเช็คอินที่สนามบิน และเก็บไว้ให้ทางตม.ที่ศรีลังกาตรวจอีกทีครับ ทริปนี้ผมไปโดยที่ไม่รู้จักสมาชิกร่วมทริปก่อนเลย รู้แต่ว่าไปกัน 12 คน ตื่นเช้าเช็คอินไฟลท์ UL403 เครื่องออกจากสุวรรณภูมิ 09.05 น. ถึงเมืองเนคอมโบ 10.55 น. ใช้เวลาบิน 3 ชั่วโมง 20 นาที (ผมบวกเลขไม่ผิดนะ เพราะเวลาที่ศรีลังกาช้ากว่าบ้านเรา 1ชั่วโมงครึ่งครับ) ตอนขึ้นเครื่องหลายๆคนคงจะกังวลแบบผมว่าจะอบอวลไปด้วยกลิ่นแขกแบบอินเดียหรือเปล่า เข้าไปก็โอเคครับ ศรีลังกากับอินเดีย คนละบรรยากาศกันเลย กีกว่าที่คิดไว้เยอะ อาหารบนเครื่องก็โอเค รสชาดคนไทยทานได้ครับ ^^ ทานข้าวเสร็จ เขียนตม. แล้วมองลงไปนอกหน้าต่าง(ผมนั่งริมหน้าต่าง)มีแต่ทะเลกับก้อนเมฆ ขอตีตั๋วนอน ตื่นขึ้นมาอีกที มองลงไปเบื้องล่างเห็นพื้นดินเกาะเขียวๆ มันเขียวไปทั้งเกาะ ตัวเมืองบ้านเรือนผู้คนน้อยมาก แน่นอนครับนั่นคือ ศรีลังกา อาหารบนเครื่องบิน ใบตม. ศรีลังกา ลงเครื่องปั้บ ผ่านตม.(ใช้วีซ่าที่ปริ้นมาแนบโชว์ไปด้วย) แล้วมารับกระเป๋า และทักทายสมาชิกร่วมทริป พี่ร่วมทริปที่นั่งใกล้ๆผมทักมาว่า อ้าวคนไทยเหรอ นึกว่าคนศรีลังกา ^^! กำลังสงสัยว่าทำไมแขกคนนี้จ้องมองพี่เขาจัง (ผมก็แค่มองหาเพื่อนร่วมทริปน่ะครับ เพราะผมยังไม่รู้จักใครเลย ^^!) รับกระเป๋าเสร็จ ก็เเลกเงินกันที่สนามบินเลยครับ เงินศรีลังกาใช้เงินรูปี ใช้เงินดอลล่าห์แลก 127.50 รูปีต่อดอลล่าห์ครับ (เวลาเราซื้อของคิดเป็นเงินบาทง่ายๆ ก็เอา 4 หารครับ เช่น 100 รูปีประมาณ 25 บาทครับ) อ้อ อย่าลืมแลกแบงค์เล็กๆ เช่นแบงค์ร้อยมาไว้เยอะๆนะครับ เพราะศรีลังกามีวัดเยอะ จะได้หยอดตู้บริจาคกันง่ายๆหน่อย ^^ แลกเงินเสร็จสมาชิกพร้อมออกเดินทางกันเลย... อัตราแลกเงินศรีลังกา มาว่าเรื่องการเดินทาง ทางบริษัท LRS ได้ใช้รถบัสใหม่เอี่ยมมารับเรา (ยังได้กลิ่นเบาะใหม่ๆอยู่เลย) แต่ภาพรวมของรถราและการจราจรที่นี่สู้เมืองไทยไม่ได้เลยครับ ถนนส่วนใหญ่ยังเป็นสองเลนแต่ดีหน่อยที่ไม่มีหลุมบ่อ รถไม่เยอะ ไม่วิ่งเร็วมาก รู้สึกการเดินทางปลอดภัยดี  ความเจริญด้านวัตถุยังด้อยกว่าไทยเยอะครับ คล้ายๆต่างจังหวัดบ้านเรา แต่ที่ดีกว่าคือ อากาศครับ ผมชอบอากาศที่ศรีลังกาดีมาก เพราะศรีลังกาเป็นเกาะ และมีต้นไม้เยอะมาก แม้ช่วงนี้จะมีแดดจ้า แต่ไม่ร้อนอบอ้าวแบบเมืองไทย ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา